ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ปลัด




facebook

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

ประกันสังคม



ระบบจัดการเว็บไซต์

ศูนย์ดำรงธรรม



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 4/12/2563
วันนี้
209
เมื่อวานนี้
88
เดือนนี้
2,372
เดือนที่แล้ว
3,529
ปีนี้
25,681
ปีที่แล้ว
29,421
ทั้งหมด
82,059
ไอพี ของคุณ
44.197.111.121

1
การรักษาด้วยสมุนไพร,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th

หอมเอ้ยหอมใบอ้ม หอมลอยลมจนคนส่า”

คำผญาอีสานพรรณนาถึงความหอมจนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาของใบอ้มที่ล่องลอยอยู่ในสายลมที่พัดผ่านไปมา

ใบอ้มนี้เป็นชื่อเรียกในภาษาอีสานลักษณะเป็นพืชที่มีใบปกคลุมสีเขียว ใบเรียว ส่งกลิ่นหอมราวกับกลิ่นใบเตยผสมยอดข้าว ตลบอบอวลเมื่อสัมผัสกับความร้อนนอกจากนี้ยังพบว่าอ้มนั้นยังมีชื่อที่หลากหลายเรียกแตกต่างกันในหลาพื้นที่ เช่น เนียมอ้ม เนียมหอม อ้มหอม ฯลฯ

อ้ม หรือ เนียมอ้ม ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino เป็นพืชในวงศ์ Chloranthaceae เป็นพืชพื้นเมืองของจีน แต่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากความหอมที่เป็นคุณสมบัติเด่นแล้ว อ้มสามารถนำใบและดอกนำมาชงเป็นน้ำชาแก้ไอ ใบสามารถตำพอกรักษาฝีและแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวก ส่วนรากรับประทานในขนาดที่พอดีตามตำรายาสามารถแก้มาลาเรียได้แต่หากรับประทานเกินขนาดมากไปจะเป็นพิษ

ชาวอีสานในอดีตใช้อ้มกันอย่างหลากหลาย เช่น นำมาผสมกับน้ำทาผมช่วยให้ผมดำเงา และซอยใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่รวมกับเต้าปูนจะช่วยให้ปากหอม สูตรนี้ผู้สูงวัยนิยมกันเป็นอย่างมาก ส่วนในมุมมองจากกลุ่มผู้ชายใบอ้มลนไฟแช่ไว้ในไหเหล้าของคนสมัยก่อนหอมหวานจนลืมเมากันเลยทีเดียว รวมถึงยังนำไปอบทำยาสูบลดกลิ่นฉุนให้หอมนุ่มนวลขึ้นมาทันที

สรรพคุณของฟักข้าว
ผลอ่อนและใบอ่อนช่วยลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ (ผลอ่อน, ยอดฟักข้าว)
ช่วยบำรุงปอด ช่วยแก้ฝีในปอด (เมล็ด)
ใบฟักข้าวมีรสขมเย็น มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ (ใบ)
รากช่วยถอนพิษไข้ (ราก)
ช่วยขับเสมหะ (ราก)
ช่วยแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (เมล็ด)
ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
ใบช่วยแก้ริดสีดวง (ใบ)

ว่านขมิ้นทอง

ลักษณะ หัว, ต้น, ใบ เหมือนต้นว่านขมิ้นชัน ผิดกันที่ต้นขมิ้นทองนี้มีสีแดง และกระดูกหลังใบแดงเท่านั้น สีของหัวเหลืองแก่กว่าขมิ้นชัน มีกลิ่มหอมเย็น พบชอบขึ้นมากตามป่าสูงๆ แถว อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี

สรรพคุณทางยา เป็นว่านยารักษาโรคได้หลายอย่างด้วยตัวเอง และผสมกับว่านอื่น ๆ เป็นยารักษาโรคที่เป็นหัวพิษต่าง ๆ เช่น หัวดาว, หัวเดือน, หัวลำมะลอก, หัวหมา หรือเป็นหัวพรากเส้นให้ตำหัวผสมกับน้ำสุราหรือน้ำปูนใส พอกที่หัว เป็นไฟลามทุ่ง, ขยุ้มตีนหมา, งูสวัสดิ์ ให้ฝนกับน้ำสุราหรือนํ้าซาวข้าวทาที่เกิดเป็นขึ้นเป็นประจำ 3 วัน เช้า กลางวัน เย็น เป็นโรคไซง้อหรือแซง้อ คอตีบ ให้ผ่าหัวว่านออกเป็นสี่แล้วอมเอาไว้เป็นประจำ เป็นโรคเจ็บที่ทรวงอกหรือเจ็บภายในท้อง ให้ใช้หัวว่านโขลกใส่น้ำซาวข้าวแล้วคั้นเอานํ้ากิน หรือต้มกินน้ำเป็นน้ำชา ถ้าเคี้ยวหัวดิบ ๆ กินเข้าไปเป็นคงกระพันชั่วเบาด้วย

 

 

 

15 มิถุนายน 2564

ผ้าฝ้ายย้อมสีจากเปลือกต้นนนทรี ,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th

ให้กับกลุ่มฝึกอาชีพ ทอผ้าเป็นลายผ้าขาวม้าและส่งจำหน่าย ตามโครงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาชีพของผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น “สูงอายุไม่สูญรายได้” ของดีอุ่มจานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ

09 มีนาคม 2564

งานจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านทําเพื่อใช้ในครัวเรือนมาแต่โบราณแม้ในปัจจุบัน,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th

งานจักสานหรือเครื่องจักสานจะมีอยู่น้อย แต่ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไป ทุกภาคในประเทศนอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว งานจักสานยังสะท้อน วัฒนธรรม สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาของชาวบ้านได้อีกด้วย ในขณะที่สภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันที่เปลี่ยนไปจากเดิม การไปมาหาสู่กันระหว่างเมืองกับชนบทติดต่อกันได้สะดวก รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางกระแสวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมทําให้สภาพความเป็นอยู่ การดํารงชีวิตของคนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบทําให้งานจักสานหรืออาชีพจักสานลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงเพื่อการส่งเสริมความรู้ด้านงานจักสานแก่ผู้ที่สนใจในอาชีพ ได้สืบทอดงานจักสานให้คงอยู่ต่อไป การประกอบอาชีพในทุกวันนี้มีหลากหลายทางมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและมีความสะดวกสบายมากขึ้นอยากกินปลาก็เดินไปซื้ออยู่ตลาด จนคนในยุคปัจจุบันไม่รู้จักกรรมวิธีขั้นตอนในอุปกรณ์ในการประยุกษ์เลือกนำภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ได้จากไม้ไผ่เอาวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาใช้ในการทำมาหากินไม่รู้จักอุปกรณ์พื้นบ้านอีสาน ที่ปู่ย่าจักรสานขึ้น อย่างเช่น สุ่มไก่ การสานกระด้ง กระติบข้าว อีโฮ่งใช้ร่อนปลา กระชังใส่ปลาซึ่งอุปกรณ์บางอย่างเราก็ไม่รู้จัก จึงจำเป็นอย่างมากที่เราควรจะศึกษาขั้นตอนในการทำอุปกรณ์พื้นบ้านต่างๆเพื่อจะได้สืบสานต่อไปคู่ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปยาวนาน
อย่างเช่นคุณตาประยงค์ ครุฑคำคำ บ้านโคกสะอาด ม.4 ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

09 มกราคม 2564

การผลิตข้าวหอมดอกฮัง,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th

เสน่ห์ของการทำนาที่บ้านโคกสะอาดตามวิถีเดิมของบรรพบุรุษ คือการทำนาบนป่าโคกค่ะเพราะเป็นการทำนาที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติทั้งป่าและน้ำ เป็นวิถีที่เกษตรกรเลี้ยงดูลูกหลานมาจนปัจจุบัน

18 ธันวาคม 2563

การทอผ้า ทอเสื่อ,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th

       มัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ ทั้งที่ย้อมเฉพาะด้ายพุ่งและย้อมด้ายยืน เพื่อให้เมื่อทอผ้าออกม้าเป็นผืนแล้ว เกิดเป็นลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้นไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์
      คำว่า "มัดหมี่" มาจากกรรมวิธีการ "มัด" เส้นด้ายเป็นกลุ่ม ๆ ก่อนการย้อมสี ส่วน "หมี่" นั้น หมายถึงเส้นด้าย การมัดหมี่ใช้ขั้นตอนยุ่งยาก ตั้งแต่การเตรียมเส้นด้าย และมัดเพื่อย้อมสีเป็นช่วงๆ กระทั่งได้สีที่ต้องการครบถ้วย ซึ่งต้องย้อมหลายครั้งด้วยกัน อาจมีความสับสนระหว่างคำว่า มัดหมี่ และ มัดย้อม ซึ่งพบได้มากในปัจจุบัน กล่าวคือ มัดหมี่ นั้นเป็นการมัดเส้นด้ายเพื่อนำมาใช้ทอ มีหลากสี และมีลวดลายที่ละเอียด ส่วน มัดย้อม นั้น เป็นการนำผ้าสำเร็จมามัดแล้วย้อมสี (มักจะย้อมครั้งเดียว สีเดียว) มีลวดลายขนาดใหญ่ ไม่เน้นลักษณะของลวดลายให้ชัดเจนนัก
วิธีการทอผ้าไหมมัดหมี่ คือ การเอาเส้นไหมมากกว่า 2 เส้นขึ้นไปมาขัดสลับกัน ซึ่งมีวิธีการทอเป็นขั้น ๆ ดังนี้
      1.เมื่อเตรียมไหมเส้นพุ่งและไส้หูกเรียบร้อยแล้ว นำเอาเส้นหูกอันใหม่สืบต่อกับไส้หูกที่ค้างอยู่ในเขาหูกและร่องฟันฟืมเดิม กางกี่หรือหูกให้เรียบร้อย
      2.เอาหลอดไหมเข้าร่องกระสวย ร้อยไหมจากหลอดผ่านรูเล็ก ๆ ข้างกระสวย หากเส้นไหมหมดจากหลอดแรก ต้องเอาหลอดที่ 2,3... ตามลำดับหลอดที่ร้อยไว้ บรรจุเข้ากระสวยและทอตามลำดับ
      3.คล้องเชือกจากเขาหูกอันหนึ่งเข้ากับไม้คันเหยียบข้างใดข้างหนึ่งและคล้องเชือกเขาหูกที่เหลืออีกอันเข้ากับไม้คันเหยียบอีกอัน เมื่อเหยียบไม้คันเหยียบข้างหนึ่ง ไส้หูกกางออกเป็นช่องเนื่องจากการดึงของเขาหูก พุ่งกระสวยผ่านช่องว่างนั้น แล้วดึงฟืมกระทบเส้นฝ้ายที่ออกมาจากกระสวยเข้าไปเก็บไว้ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวยผ่านช่องว่าง กลับมาทางเดิม ดึงฟืมกระทบเส้นฝ้ายเข้าเก็บ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวย ดึงฟืมกระทบ เหยียบไม้คันเหยียบ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนได้ผืนผ้าเกิดขึ้นยากมากแล้ว จึงพันผืนผ้าไว้ด้วยไม้กำพัน
จากกลุ่มทอผ้าไหม คุณยายซ้าน เฮืองฮุง บ้านโคกสะอาด หมู่ที่ 4 ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

18 ธันวาคม 2563

การทำนาปรัง,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th


นาปรัง – นาปรังคือการทำนานอกฤดูกาล คือเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีการชลประทานดี พันธ์ข้าวที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีน้ำเยอะ เป็นข้าวไวต่อแสง ขอเพียงมีแสงแดดถึง ข้าวก็สามารถออกรวงได้ดี เป็นข้าวที่มีผลผลิตค่อนข้างแน่นอน เพราะสามารถนับอายุการปลูกข้าวได้ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นจนถึงการเก็บเกี่ยว เกษตรกรในพื้นที่ตำบลอุ่มจานในหลายหมู่บ้านหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจากข้าวนาปี ก็จะปลูกข้าวนาปรัง อาทิ เช่น บ้านแสนพัน /บ้านคำกั้ง/บ้านงิ้ว และบ้านคำสร้างถ่อ

18 ธันวาคม 2563

การผลิตยอ แห สะดุ้ง,องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน,umchan.go.th
18 ธันวาคม 2563

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (7 รายการ)

{{--cookie zone--}}