|
การรักษาด้วยสมุนไพร
หอมเอ้ยหอมใบอ้ม หอมลอยลมจนคนส่า” คำผญาอีสานพรรณนาถึงความหอมจนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาของใบอ้มที่ล่องลอยอยู่ในสายลมที่พัดผ่านไปมา ใบอ้มนี้เป็นชื่อเรียกในภาษาอีสานลักษณะเป็นพืชที่มีใบปกคลุมสีเขียว ใบเรียว ส่งกลิ่นหอมราวกับกลิ่นใบเตยผสมยอดข้าว ตลบอบอวลเมื่อสัมผัสกับความร้อนนอกจากนี้ยังพบว่าอ้มนั้นยังมีชื่อที่หลากหลายเรียกแตกต่างกันในหลาพื้นที่ เช่น เนียมอ้ม เนียมหอม อ้มหอม ฯลฯ อ้ม หรือ เนียมอ้ม ชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino เป็นพืชในวงศ์ Chloranthaceae เป็นพืชพื้นเมืองของจีน แต่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากความหอมที่เป็นคุณสมบัติเด่นแล้ว อ้มสามารถนำใบและดอกนำมาชงเป็นน้ำชาแก้ไอ ใบสามารถตำพอกรักษาฝีและแผลที่เกิดจากน้ำร้อนลวก ส่วนรากรับประทานในขนาดที่พอดีตามตำรายาสามารถแก้มาลาเรียได้แต่หากรับประทานเกินขนาดมากไปจะเป็นพิษ ชาวอีสานในอดีตใช้อ้มกันอย่างหลากหลาย เช่น นำมาผสมกับน้ำทาผมช่วยให้ผมดำเงา และซอยใบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่รวมกับเต้าปูนจะช่วยให้ปากหอม สูตรนี้ผู้สูงวัยนิยมกันเป็นอย่างมาก ส่วนในมุมมองจากกลุ่มผู้ชายใบอ้มลนไฟแช่ไว้ในไหเหล้าของคนสมัยก่อนหอมหวานจนลืมเมากันเลยทีเดียว รวมถึงยังนำไปอบทำยาสูบลดกลิ่นฉุนให้หอมนุ่มนวลขึ้นมาทันที สรรพคุณของฟักข้าว ว่านขมิ้นทอง ลักษณะ หัว, ต้น, ใบ เหมือนต้นว่านขมิ้นชัน ผิดกันที่ต้นขมิ้นทองนี้มีสีแดง และกระดูกหลังใบแดงเท่านั้น สีของหัวเหลืองแก่กว่าขมิ้นชัน มีกลิ่มหอมเย็น พบชอบขึ้นมากตามป่าสูงๆ แถว อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี สรรพคุณทางยา เป็นว่านยารักษาโรคได้หลายอย่างด้วยตัวเอง และผสมกับว่านอื่น ๆ เป็นยารักษาโรคที่เป็นหัวพิษต่าง ๆ เช่น หัวดาว, หัวเดือน, หัวลำมะลอก, หัวหมา หรือเป็นหัวพรากเส้นให้ตำหัวผสมกับน้ำสุราหรือน้ำปูนใส พอกที่หัว เป็นไฟลามทุ่ง, ขยุ้มตีนหมา, งูสวัสดิ์ ให้ฝนกับน้ำสุราหรือนํ้าซาวข้าวทาที่เกิดเป็นขึ้นเป็นประจำ 3 วัน เช้า กลางวัน เย็น เป็นโรคไซง้อหรือแซง้อ คอตีบ ให้ผ่าหัวว่านออกเป็นสี่แล้วอมเอาไว้เป็นประจำ เป็นโรคเจ็บที่ทรวงอกหรือเจ็บภายในท้อง ให้ใช้หัวว่านโขลกใส่น้ำซาวข้าวแล้วคั้นเอานํ้ากิน หรือต้มกินน้ำเป็นน้ำชา ถ้าเคี้ยวหัวดิบ ๆ กินเข้าไปเป็นคงกระพันชั่วเบาด้วย
15 มิถุนายน 2564
|