ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด




facebook

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

ประกันสังคม

จริยธรรม



ระบบจัดการเว็บไซต์

ศูนย์ดำรงธรรม

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 4/12/2563
วันนี้
195
เมื่อวานนี้
599
เดือนนี้
3,242
เดือนที่แล้ว
2,106
ปีนี้
7,477
ปีที่แล้ว
29,421
ทั้งหมด
63,855
ไอพี ของคุณ
34.239.173.144

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านอุ่มจาน หมู่ที่ 1

 

    เมื่อประมาณ ร.5 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดคลองประเทศลาว  ได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่งนำโดย  พ่อเฒ่าสีลักสา  และผู้เฒ่าเซียงยุ้ม  ชาวเมืองมหาชัยได้นำครอบครัวอพยพข้ามแม่น้ำโพมาตั้งหลักที่บ้านผึ้ง  จังหวัดนครพนม  แต่กลับพบว่าพื้นที่บริเวณนั้นแห้งแล้งมากหนัก  ขาดน้ำสำหรับการเกษตร  และอุปโภค  จึงได้อพยพอีกครั้งโดยเคลื่อนลงมาทางทิศตะวันตก  จนปักหลักอีกครั้งที่บริเวณหนองหนองซมแมว ( บ้านหนองบัวสร้างในปัจจุบัน ) อยู่ได้ไม่นานก็ประสบภาวะความแห้งแล้งอีกครั้ง  ทำการเกษตรไม่ได้ ( ยังมีร่องรอยการทำนาในสมัยนั้นอยู่บริเวณทิศใต้ของหมู่บ้านเป็นที่นาลักษณะบันได ซึ่งยังมีความยากลำบากในการใช้ควายคาด ) จึงย้ายถิ่นฐานอีกที่บริเวณ ป่าจาน  ในปี พ.ศ.2403 ตั้งชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านอุ่มจาน โดยนำนามสกุลต้นตระกูลคือ ตระกูลอุ่มภูธร  รวมกับซึ่งมีภูมิประเทศซึ่งมีต้นจาน (ต้นทองกราว)ขึ้นอยู่ออกดอกสีแดงเต็มหมู่บ้าน  ซึ่งปัจจุบันได้ตัดโค่นจนเหลือน้อย  จึงมีการอนุรักษ์โดยปลูกต้นจานไว้ภายหลัง  ในปี พ.ศ.2411 ได้นิมนต์หลวงพ่อพรมมาจากบ้านหนองสนม   มาสร้างวัดขึ้นภายในหมู่บ้านบริเวณหนองตอแหล  ในสมัยพ่อเฒ่าจานพล (นามสกุลเดิม  พรมจางวาง  ต่อมาเปลี่ยนเป็นอุ่มสาพล ) ตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ชัย

 

        คณะนั้น มีเจ้าขุนจันทร์เป็นเจ้าเมืองสกลนครได้นำข้าหลวงมาเลี้ยงบริเวณวณหนองน้ำใกล้เคียงได้พบเข้าเกิดความศรัทธาจึงนำข้าราชการและหลวงพ่อพระครูระดำ   จากบ้านเมืองเก่า อำเภอกุสุมาลย์ นพฆ้องมาถวายวัด (ปัจจุบัน ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของหมู่บ้าน  แต่ชำรุดมากไปแล้ว ) ตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มมีราษฎรจากที่ต่างๆ พากันอพยพเข้ามาในหมู่บ้านมากขึ้น  ประกอบไปด้วยชนเผ่า  ไทญ้อ  โซ่  กะเลิง ลาว เป็นกลุ่มใหญ่ในหมู่บ้าน  มีตระกูลใหญ่ๆในหมู่บ้านประกอบไปด้วย  ตระกูลอุ่มสาพล    พรหมหากุล  อุ่มภูธร ซึ่งต่อมาปี พ.ศ. 2480 ได้มีร้านค้าขายสินค้า  อาหาร เกิดขึ้นเพื่อจะให้คนในชุมชนจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวกสะบาย พ.ศ.2504   มีรถยนต์เข้ามาในชุมชนเป็นคันแรกของ นายวันนา     อุ่มสาพล   และรถจักรยานยนต์  เป็นของนายลิน   กงเกตุ  นายสมชาติ  ไชยมุงคุณ  และนายระบอบ    อุปพงษ์  เป็นคันแรก  มีการก่อตั้งโรงสีข้าวในชุมชนเมื่อ พ.ศ.2505  เป็นของนายซัง     พรหมหากุล  และต่อมาในปี พ.ศ.2508 มีการตั้งโรงเรียนบ้านอุ่มจาน โดยมีผู้ใหญ่อินตา  อุ่มสาพล เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อที่จะให้คนในชุมชนได้รับการศึกษา พ.ศ.2511 มีธนาคารเพื่อการเกษตรเข้ามาสนับสนุนให้การกู้ยืมเพื่อทำการเกษตรเป็นกลุ่มแรกของตำบลอุ่มจานเพราะเล็งเห็นว่าคนในชุมชนต้องการมีทุนในการทำการเกษตร พ.ศ.2517 สร้างศูนย์พัฒนาหมู่บ้าน  พ.ศ.2518 มีการก่อสร้างประปาด้วยไม้เพื่อเป็นใช้เป็นสิ่งอุปโภคบริโภคให้กับคนในชุมชน  และได้บูรณะใหม่ในปี พ.ศ.2524 ให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง  ความสะดวกสบายเข้ามาในหมู่บ้านซึ่งนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาในชุมชนในปี พ.ศ.2520  ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เข้าในชุมชนซึ่งเครื่องแรกก็จะเป็นของนายริน   กงเกตุ  นางทุม   ไชยบุญคุณ   นางศิริพร  ล็อค  เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายนอกชุมชน   สร้างสะพานในชุมชนด้วยท่อลอดสี่เหลี่ยมและมีการสร้างฝายน้ำล้นในปี พ.ศ. เดียวกัน   พ.ศ.2528  มีรถไถเดินตามเพื่อทำเพื่อการเกษตรและทุ่นแรงงานสัตว์เป็นคันแรกเป็นของนายคำ  อุ่มภูธร พ.ศ.2529 มีไฟฟ้าเข้ามาในชุมชนและหลังจากนั้นก็ได้ก่อตั้งศูนย์สาธิตเพื่อการตลาดของชุมชนใน พ.ศ.2530 เพื่อมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือมีการแบ่งผลประโยชน์ผลกำไรของสมาชิกสหกรณ์และได้หยุดทำการในปี พ.ศ.2535 และ พ.ศ.2538  มีการก่อสร้างถนนคอนกรีตเข้ามาในหมู่บ้านเพื่ออำนวยความสะดวกเป็นของนางพิมพ์พร  อุ่มสาพล  พ,ศ.2539 ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ซึ่งนางเสนียง   รกน้อย เป็นครูคนแรกของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กในชุมชนไม่ว่าจะเป็นการศึกษา หรือทักษะการเรียนรู้ต่างๆ และได้ทำการขุดบ่อแก  เพื่อใช้น้ำเพื่อทำการเกษตร  และเป็นแหล่งน้ำในการลงแขกจับปลา  พ.ศ.2544 มีกองทุนเงินล้านเข้ามาสนับสนุนให้กู้ยืมเงินหมู่บ้าน  และ พ.ศ.2545 มีโทรศัพท์สาธารณะเข้ามาใช้ในหมู่บ้านและได้หยุดทำการใช้ในปี พ.ศ. 2550

          

            พ.ศ.2545  ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่  เป็นบ้านอุ่มจานหมู่ที่ 1 และหมู่บ้านอุ่มจาน หมู่ที่ 13 ซึ่งการแยกหมู่บ้านเพื่อความเจริญ  และเพื่อให้ได้งบประมาณในการสนับสนุนเงินทุนเข้ามาในหมู่บ้านและมีการสร้างประปาน้ำดื่ม  เพื่อให้คนในชุมชนได้มีน้ำที่สะอาด  พ.ศ.2546 ได้ริเริ่มว่าเวลามีงานศพให้คนในชุมชนได้นำเหล้าไปร่วมงานและมีโครงการงานศพปลอดเหล้า

 

             ในปี พ.ศ.2557 จึงได้ยกเลิกการนำเหล้าไปร่วมงานศพ และต่อมา พ.ศ.2549 ได้มีการสร้างศาลาวัดหลังใหม่ เพราะศาลาวัดหลังเก่าได้ถูกไฟเผาไหม้ทั้งหมด และ พ.ศ.2551 ได้มีบริษัท AIS ได้มาตั้งเสาโทรศัพท์ AIS เพื่อสัญญาณคมชัดในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น พ.ศ.2556 มีบริษัททรูมูฟ  ได้มาก่อตั้งเสา

โทรศัพท์ True Move พ.ศ.2557 ได้มีการสร้างศูนย์สาธิตการตลาดขึ้นใหม่ และ พ.ศ.2558 ได้สร้างประตูทางเข้าโรงเรียนด้วยไม้สักทอง   ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ (ภัยแล้ง) ส่งผลกกระทบให้คนในชุมชนไม่มีน้ำทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค  และได้รับเป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการเศรษฐกิจพอเพียง  มีการสร้างฝายแม้วเพื่อช่วยในการกักเก็บน้ำ และเพื่อให้พื้นที่นั้น มีความอุดมสมบูรณ์